ดวงตา ดวง ตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคนี้คือ ปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือ ภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง ทาง American Optometric Association (AOA) มีการให้คำจำกัดความของโรคหรือภัยที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลที่เกิดกับดวงตาและการมองเห็นว่า คือโรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS โดยมีอาการคือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง, รอยตาคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา สาเหตุหลักนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังสามารถเกิดได้จากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งจากรังสี UV ที่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ หรือจากแสงแดดก็ได้
เสี่ยงต่อการเป็นหมัน ในวารสาร “Human Reproduction” มีรายงานที่เขียนโดย ดร.เยซิม เซย์คิน หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำนครนิวยอร์ก รายงานไว้ว่า คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊ค ที่หลายคนชอบวางทำงานไว้บนหน้าตักนั้น จะทำให้อุณหภูมิที่ลูกอัณฑะสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการสร้างสเปิร์มของผู้ชายทุก คนและทุกวัย ปกติแล้วลูกอัณฑะที่ใช้ผลิตเสปิร์มของผู้ชายนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่ออุณภูมิ เป็นอย่างมาก โดยอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสก็จะลดจำนวนเสปิร์มที่แข็งแรงลงไปถึงร้อยละ 40 การวางโน๊ตบุ๊คบนตักหนึ่งชั่วโมงทำให้อุณภูมิลูกอัณฑะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 ถึง 2.8 องศาเซลเซียส
โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก
โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
o ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
o ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
o ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก
การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองหรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานเพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเฉพาะที่ได้
อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI ซึ่งสามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่อง คอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น
กลุ่มอาการปวดข้อ(Carpal Tunnel Syndrome: CTS) เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา
สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้ |
โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
Qwerty Tummy (โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด) ซึ่งอาจระบาดในที่ทำงานได้ หากว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยผู้ใช้รับ-ประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งานย์บอร์ด ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ แบคทีเรีย ด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่างน้อยเดือนละครั้งเสมอ |
|
โรคที่เกิดจากการใช้งาน โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ จึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง
ที่มาของข้อมูล http://www.thaiitwatch.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=1404&auto_id=11&TopicPk
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น