เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่ใส่ใจความปลอดภัยมากนัก!
ผู้เชี่ยวชาญเผยแฮกเกอร์เห็นช่องว่าง เล็งโจมตีโซเชียลเน็ตเวิร์กหนัก เตือนคนเล่น
แชต แชร์ แบบไม่คิด เสี่ยงตกเป็นเหยื่อ...
แม้ว่า
พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กและการออนไลน์ จะแพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน
แต่เช่ือหรือไม่...? ว่าผู้ใช้ยังคงให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในระดับต่ำ
สอดคล้องกับ
ผลการสำรวจเรื่อง Consumer Security Risks Survey 2014 :
Multi-Device Threats in a Multi-Device World โดยบริษัท บีทูบี
อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับแคสเปอร์สกี้ แลป
ซึ่งระบุว่ามีกลุ่มคนจำนวนน้อยมากที่เข้าใจความเสี่ยงที่มากับการใช้โซเชีย
ลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะคนที่ใช้โมบายดีไวซ์เพื่อเข้าไซต์โซเชียลต่างๆ
แม้การสื่อสารทางโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเป็นที่นิยมติดอันดับสามรองจากการ
เช็กอีเมล์และการอ่านคอนเทนต์ทั่วไป
ขณะที่เทรนด์การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านโมบายดีไวซ์ก็ค่อนข้างสูงตามติด
เครื่องพีซี
อย่าไว้ใจว่าสิ่งที่เราใช้เป็นประจำจะปลอดภัย...
ทั้งนี้
ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 78%
ไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจของอาชญากรไซเบอร์
ทั้งยังไม่คิดว่ามีอันตรายอะไรกับกิจกรรมโซเชียลเน็ตเวิร์กของตน โดยการสำรวจพบว่า 1
ใน 10 คนเคยพูดคุยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า
ขณะที่ 15% ส่งข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ได้เปิดเผยที่ใดผ่านทางโซเชียล
ยิ่งไปกว่านั้น 12% ระบุว่าตนเองกรอกข้อมูลออนไลน์แอคเคาท์เมื่อใช้เครือข่ายไว-ไฟสาธารณะ
โดยมีเพียง 18% เท่านั้น
ที่คิดว่าตนเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปหรือเปล่า และอีก 7% ให้ความสำคัญว่าการติดต่อทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นหนึ่งในข้อมูลหลักที่เกรง
กลัวว่าจะสูญเสียไปมากที่สุด
และเป็นไปตามคาด...
เพราะผู้ใช้โมบายล์มักตกอยู่สถานการณ์ล่อแหลม โดยมี 6% ระบุว่าเคยโดนแฮกเกอร์ยึดแอคเคาท์
และอีก 13% เป็นของกลุ่มที่ใช้แท็บเล็ตแอนดรอยด์
เห็นลิงก์แปลกใหม่
ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องคลิกอยู่เสมอ.....
แล้วจะทำอย่างไร
เมื่อเราเป็นพวกใจรักการออนไลน์และใช้โซเชียลแบบ non stop ขาดกันไม่ได้!
เราขอแนะนำ 6 วิธีธรรมดาแสนง่ายดาย
แต่สามารถเลี่ยงความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อโซเชียลได้ชะงักนัก...!
1. ใช้พาสเวิร์ดที่เหมาะสมและเดายาก
และยกเลิกฟังก์ชั่นการเติมเต็มพาสเวิร์ดอัตโนมัติ (auto-complete function)
โดยเฉพาะเวลาที่คุณใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
2. ระมัดระวังข้อมูลที่แชร์บนเน็ตเวิร์ก
ถ้ามีเรื่องราวที่คุณต้องการแบ่งปันกับกลุ่มเพื่อนอยู่บ่อยครั้ง
ก็ควรแบ่งเป็นกลุ่ม "friends" เพื่อจัดข้อมูลส่วนตัวที่คุณเลือกจะแชร์เฉพาะกับคนที่ไว้วางใจเท่านั้น
ลิงก์วิดีโอกลายเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนตกเป็นเหยื่อ
3. อย่าดาวน์โหลดไฟล์
อย่าคลิกลิงก์ต่างๆ ที่ไม่แน่ใจแหล่งที่ส่งมา
เรื่องนี้ต้องจำกัดกรอบให้ความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองซักหน่อย
ถ้าไม่มั่นใจกับลิงก์แปลกๆ ก็อย่าไปสนใจคลิกมันเลย
4. ก่อนจะกรอกข้อมูลส่วนตัวควรตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่ใช่เพจปลอม
เนื่องจากปัจจุบันอาชญากรออนไลน์ก็พยายามสร้างสรรค์วิธีลวงข้อมูลสำคัญจาก
ผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคำนึงถึงความปลอดภัย เพื่อมาหลอกเอายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดของคุณ
5. เลือกใช้การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ปลอดภัย
เรารู้ว่าเดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องสำคัญ
แต่อย่าปล่อยใจไปกับเครือข่ายไว-ไฟฟรี ที่ไม่น่าเชื่อถือ
และหากเป็นไปได้คุณควรหลีกเลี่ยงการใส่ล็อกอินและพาสเวิร์ดเมื่อต่อเชื่อม
กับฮอตสปอต หรือหากจำเป็นจริงๆ
ก็ควรใช้พาสเวิร์ดเมื่อมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์เฉพาะเครือข่ายที่ไว้ใจได้เท่านั้น
6. หาโซลูชั่นปกป้องเครื่อง
แม้ว่าคุณอาจแน่ใจว่าดีไวซ์ที่คุณใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีระบบป้องกันดี พอ
แต่ก็ควรเลือกใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยมาเพิ่มเกราะป้องกันให้อุปกรณ์ของคุณด้วย
เช็กความปลอดภัยให้ชัวร์
เพื่อการใช้งานโซเชียลแบบไร้ความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม
จากสถิติในปี 2556
พบว่าแฮกเกอร์ให้ความสนใจโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างต่อเนื่อง
โดยข้อมูลจาก Kaspersky Security Network ระบุว่าแคสเปอร์สกี้
แลป สามารถสกัดจับการหลงเข้าฟิชชิ่งเพจ (เพจปลอม) ได้มากกว่า 600 ล้านครั้ง และกว่า 35% ของเพจเหล่านี้เลียนแบบโซเชียลเน็ตเวิร์กไซต์
ขณะเดียวกันการสำรวจยังพบว่า 40% ของยูสเซอร์เคยได้รับข้อความน่าสงสัยชักชวนให้คลิกเข้าลิงก์ต่างๆ
หรือดาวน์โหลดไฟล์ และอีก 21% ยังระบุว่าเคยได้รับอีเมล์ที่อ้างว่าส่งมาจากโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อขอ
ข้อมูลส่วนตัวอีกด้วย
นี่หมายถึงความเสี่ยงจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก
ซึ่งจะแน่ใจได้แค่ไหน ว่าคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง...?
ที่มา: thairath
http://www.advice.co.th/newsdetail.php?nid=597
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น